Monday, September 5, 2022

 Diary from WordPress
Stagflation

คือภาวะทางเศรษฐกิจที่มาจากการรวมกันของ Stagnation เเละ Inflation

- Stagnation คือการที่เศรษฐกิจชะลอตัวจากอัตราการว่างงานที่สูง

- Inflation คือภาวะเงินเฟ้อ เป็นมูลค่าของเงินลดลงทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นตามปกติเเล้วความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) กับอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) จะสัมพันธ์กันในลักษณะที่ตรงข้ามกัน

เงินเฟ้อสูง > อัตราว่างงานจะต่ำเงินเฟ้อต่ำ > อัตราว่างงานจะสูง

เศรษฐกิจเเย่ รายได้ลดลง อัตราการว่างงานสูง
เเต่ของเเพงขึ้น ค่าครองชีพสูง เเละเงินเฟ้อสูงขึ้น
Stagnation + Inflation เป็นสิ่งที่ขัดเเย้งกัน ไม่น่าจะเกิดขึ้น เเต่ก็เกิดขึ้นได้
ในเชิงเศรษฐศาสตร์ จะมีดัชนีที่ใช้วัดความเติบโต, ความตกต่ำของเศรษฐกิจ เช่น GDP, Unemployment Rate, Inflation

กรณีที่ 1 ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงานมักจะสูงมาก เพราะคนไม่มีงานทำ คนไม่สามารถที่จะหารายได้ด้วยตัวเอง รายได้ก็จะลดลง Inflation Rate ก็จะต่ำมาก หรือบางทีจะถึงขั้นติดลบ เเละกลายเป็น เงินฝึด เพราะว่าคนไม่มีเงินใช้จ่าย สินค้า บริการ เเละราคาสินค้าก็จะไม่ได้ขึ้นมากนัก เป็นเรื่องปกติ
(High Unemployment Rate, Lower Inflation)
กรณีที่ 2 เศรษฐกิจร้อนเเรงจนเกินไป ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างที่จะเป็นกังวล GDP เพิ่มเติบโตสูงขึ้น อัตรา Unemployment Rate ก็จะต่ำลง เพราะว่าคนมีงานทำมากขึ้น Productivity ผลผลิตทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ
(Economic Growth, Low Unemployment Rate, Higher Inflation)
วิธีการเเก้ไขกรณีที่ 1
ในเชิงนโยบายทางการคลังก็อาจจะใช้เช็คเงินสดช่วยให้คนมีเงินจับจ่ายใช้สอย เพิ่มอัตราการจ้างงาน
ในเชิงนโยบายทางการเงิน ถ้าอยากให้เศรษฐกิจกลับมา ส่วนใหญ่เเล้วก็จะใช้วิธีการลดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมต่ำลง > บริษัทจะมีเเรงจูงใจในการไปกู้เงินเพื่อไปลงทุน
วิธีการเเก้ไขกรณีที่ 2
สิ่งที่ต้องทำ โดยปกติคือ เพิ่มดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนเเรงของเศรษฐกิจ ทำให้ดอกเบี้ยธนาคารมีเเนวโน้มสูงขึ้น เอกชนรู้สึกเเพงก็จะไม่อยากกู้เงิน คนใช้จ่ายน้อยลง คนนำเงินไปฝากมากขึ้น
เเต่ Stagflation
GDP หรือการเติบโตของเศรษฐกิจ มัน Stag(ตกต่ำลง) อัตราการว่างงานสูงมาก คนตกงาน รายได้คนไม่ค่อยมี เเต่ว่าอัตราเงินเฟ้อกลับเพิ่มขึ้นสูง
ทำให้ สินค้าเเพง มันก็เคยเป็นการซ้ำเติมประชาชน เพราะงานก็ไม่มีอยู่เเล้ว ข้าวของ กลับเเพงขึ้นเรื่อยๆ จากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
Stagflation คนคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น เเต่มันก็เคยเกิดขึ้นมาเเล้ว
Stagflation ในยุค 70 สหรัฐกำลังทำสงครามเวียดนาม ก็พยายามที่จะเอาเงินไปลงทุนที่งบทางการทหารต่างๆ ก็ทำให้เศรษฐกิจเริ่มไม่ค่อยดี เริ่มตกต่ำคนเริ่มตกงานมากยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกัน ปัจจัย ที่ทำให้เกิด Stagflation คือ
น้ำมัน
ตอนนั้นคนที่ยึด Supply ของทั้งโลกเอาไว้ คือกลุ่มประเทศ อาหรับ
หรือ OPEC สหรัฐยังไม่พบ Shale Oil ก็ต้องซื้อจากกลุ่ม OPEC
OPEC เลยควบคุมกลไกซื้อขายของน้ำมันที่มีอำนาจสูงมาก
[OPEC]


เริ่มเเรกนั้นมีสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ
ก่อนที่จะเพิ่มมาเป็น 14 ประเทศในปัจจุบัน
OPEC มีอิทธิพลต่อตลาดน้ำมันดิบของโลกมาพอสมควร
จุดประสงค์ในการตั้ง OPEC ขึ้นมานั้น เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบาย น้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ในการรักษาระดับราคาให้มีความยุติธรรม เเละสร้างความมั่นคงให้เเก่ประเทศ


[การเงิน Bretton Woods ]


ระบบเบรตตันวูดส์ของการจัดการทางการเงินที่จัดตั้งขึ้น
กฏสำหรับความสัมพันธ์ทางการค้าเเละการเงินในหมู่ประเทศ สหรัฐอเมริกา, เเคนาดา, ยุโรปตะวันตก, ประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น
หลังจากเบรตตัน 1944 ข้อตกลงระบบ Bretton Woods เป็นตัวอย่างเเรกของคำสั่งทางการเงินที่มีการเจรจาอย่างเต็มที่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างรัฐอิสระ
คุณสมบัติหลักของระบบ Bretton Woods คือภาระหน้าที่ของเเต่ละประเทศที่จะต้องใช้ นโยบายทางการเงินที่จะรักษาอัตราเเลกเปลี่ยนภายนอก ภายใน 1% โดยผูกสกุลเงินทองเเละความสามารถของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นอกจากนี้ยังมีความจำเ็นที่จะต้องจัดการกับความขาดความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ เเละเพื่อป้องกันการลดค่าเงินในการเเข่งขันด้วย
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2514 สหรัฐได้ยุติการเเปลงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นทองคำเพียงฝ่ายเดียว ทำให้ระบบ Bretton Woods สิ้นสุดลงอย่างมีประสิทธิภาพเเละทำให้ดอลลารเป็นสกุลเงินเฟียต(Fiat) ในเวลาเดียวกันสกุลเงินหลายสกุลเงิน ก็กลายเป็นสกุลเงินอิสระเช่นกัน


ต่อ Stagflation ปี 70
ที่จู่ๆ สหรัฐอเมริกาก็เลิก Bretton Woods
สหรัฐอเมริกาพิมพ์เงินออกมา โดยไม่สนอะไร (ไม่มีอะไร Backup) ก็ส่งผลกระทบกับคนที่รับเงินดอลลาร์สหรัฐในตอนนั้น
ทำให้กลุ่มประเทศ OPEC ที่รับ ดอลลาร์สหรัฐนั้นไม่พอใจ ก็เลยไม่ส่งขายคนทั้งโลก ที่ใช้น้ำมันอยู่ก็เลยเกิดเป็น Supply Shock ในปี 70 ขึ้น
[Supply Shock]


เป็นกรณีเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่นค่าจ้าง เเรงงาน ต้นทุนวัตถุดิบ
เงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปทานนี้ เราสามารถเเบ่งได้เป็น 3 ประเด็น
Without Monetary Validation
กรณีที่เกิดจากราคาต้นทุนสูงขึ้น ทำให้ อุปทานรวมลดลง ในขณะที่รายได้ประชาชาติลดต่ำลงกว่าที่มีการจ้างงานเต็มที่
Monetary Validation
กรณีที่มี Monetary Validation จากรณีเเรก หากมีการขยายปริมาณเงินจากธนาคารกลาง รายได้ประชาชาติดุลยภาพเดิมกรณีนี้ระดับราคาจะสูงขึ้น
Monetary Validation of Repeated Supply Shock
กรณีนี้จะคล้ายกับ กรณีก่อนหน้า เเต่เกิดเหตุการณ์ Supply ขึ้นซ้ำๆ จึงมีการเพิ่มปริมาณเงินจากธนาคารกลางเข้าไปอีก ทำให้ระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ


น้ำมันส่งผลกระทบต่อทุกๆ สินค้าเพราะมันคือการขนส่ง ตอนนั้นหุ้นตกมาก เกิดผลกระทบกับคนทั้งโลก
เหตุการณ์นั้นทำให้เกิดความขัดเเย้ง ในเชิงระบบเศรษฐศาสตร์ ในสหรัฐอเมริกาเศรษฐกิจไม่ค่อยดีอยู่เเล้ว ตกต่ำอยู่เเล้ว งานไม่ค่อยมีให้ทำ เพราะว่าเอาเงินไปลงกับสงความเวียดนามเป็นอย่างมาก
จู่ๆ ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น สินค้าค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น จนเกิดเป็น Stagflation
นโยบายทางการเงิน ไม่สามารถช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อหยุดความร้อนเเรงลงได้
สิ่งที่หลายๆ บริษัททำคือ ตัดค่าใช้จ่ายปลดพนักงาน คนตกงานก็เพิ่มขึ้นอีก ทั้งหมดเเก้ได้ยากเเละใช้เวลานาน

No comments:

Post a Comment